วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

Domain กับ Workgroup

Workgroup
Configure เพียงแค่ว่าให้ computer ทั้งหมดในบริษัทสมมติว่า 25 เครื่องเชื่อมต่อกันได้พอ มีการแชร์ไฟล์กันบ้าง ใช้ printer ร่วมกันบ้าง อย่างนี้ใช้เพียง WORKGROUP โดยตั้งชื่อ computer แต่ละเครื่องให้แตกต่างกัน แต่ให้อยู่ในชื่อ Workgroup เดียวกัน เช่น beginphp_group ทั้ง 25 เครื่องเลย แบบนี้ไม่มีเครื่องแม่ข่าย (Server) ไม่มีเครืองลูกข่าย (Client) ทุกเครืองเป็นเพียงสมาชิกของ Workgroup ที่ชื่อ beginphp_group มีปัญหาเล็กน้อยตรง Windows XP/Vista/7 ที่ใช้บนเครื่องแต่ละเครื่อง กำหนดให้ connect กันได้พร้อมๆ กันไม่เกิน 10 concurrents ส่วน Peer-to-peer (แปลว่า จุดต่อจุด) ก็เป็น Workgroup แบบหนึ่งที่มี 2 เครื่องเสียบสาย UTP RJ11 แบบ cross เข้าด้วยกันโดยตรง

Domain
มีเครื่องแม่ 1 เครื่อง (อาจจะมากกว่าก็ได้) ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 R2 ซึ่งแน่นอนมันเก่งกว่า XP/Vista/7 แต่งตั้ง (Promote) โดยใช้คำสั่ง dcpromo ให้มันทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ (Server หรือจะเรียกใหม่ว่า Domain Controller:DC)  เพราะเมื่อใช้ dcpromo นั่นคือจะต้องระบุว่าจะให้เครื่องนั้นทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมของเครือข่าย (Domain) ชื่ออะไร เช่น beginphp.co.th ซึ่งในนี้จะมีระบบสารบัญอยู่เรียกว่า Active Directory:AD จัดเก็บทุกอย่างใน domain ได้แก่ ชื่อเครื่องแม่ (DC), ชื่อเครื่องลูกที่จะมาขอร่วมวงเครือข่าย domain นี้, IP Address ที่เกี่ยวข้อง, ถ้าเห็นว่า DC นี้ซื้อมาตั้งแพง ทำหน้าที่น้อยไป ก็ "จัดการ" ติดตั้ง Service ให้มันทำหน้าที่เพิ่มขึ้นให้คุ้มค่า เช่น
                - DNS Service บริการสลับชื่อเป็น IP Address สลับ IP Address เป็นชื่อ
                - DHCP Server ทำหน้าที่แจก IP Address ให้เครื่องลูกที่มาเชื่อมต่อ
                - Service อื่นๆ พอสมควร
 เครื่องลูกที่จะมาเชื่อมต่อ จะทำแค่กำหนดชื่อเครื่องและชื่อ Workgroup ให้ตรงกันไม่พอแล้วต้องใช้การ join domain แทน จะต้องกำหนดให้เครื่องลูกมันรู้จักว่าเครื่องไหนเป็นเครื่องแม่ข่าย domain ชื่ออะไร

คำถาม-คำตอบ
1. Domain กับ Workgroup ต่างกันอย่างไร
    Domain ทำให้เราสามารถควบคุมเครื่องที่เข้ามา Join ได้จากเครื่องหลัก หรือเครื่อง server ที่ติดตั้ง Active Directory ไว้โดยผ่าน Policy Workgroup ทำได้แค่เพียงเปิด share resource ให้กับเครื่องภายในเครือข่ายเท่านั้น ไม่สามารถไปกำหนดค่าของเครื่องอื่นๆ ได้
2. Domain เนี้ยต้องเป็นเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการ Server เท่านั้นจึงจะสร้างได้เช่น Windows Server 2000/2003 ใช่หรือไม่ครับ? ระบบอื่นๆ เช่น xp, 98 ทำได้แค่ Join ถูกไหมครับ? (แล้ว Join ทำไมอ่า)
    ถูกต้องครับ และ Join เข้ามาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Domain และสามารถใช้ Policy ตามที่ Domain กำหนดมาได้
3. สร้างไปทำไมครับ?
    สมมติเรามีคอมแค่ 20-30 เครื่อง ทำไมไม่ใช้เป็น Workgroup ให้หมด
เพื่อให้ควบคุมเครื่องเหล่านี้จาก Policy ได้จากจุดเดียว ประหยัดเวลาในการบริหาร และจัดการเครื่องเหล่านี้
4. การสร้าง Domain ใช่ที่ว่าใน 1 Domain จะมี ได้ "หลายๆ Workgroup" และเครื่องที่ Login เข้า Domain จะมองเห็นได้ทุก Workgroup ...แบบนี้หรือเปล่าครับ?
    1 Domain ก็คือ 1 Domain ถ้าจะมองเป็น Workgroup ก็จะมี Workgroup เดียว คือชื่อ Domain ที่ตั้งมา แต่สามารถกำหนดให้แยกตามแผนกได้ เช่น accounting admin sales
5. การสร้าง Domain ไม่ต้องจดทะเบียนอะไรเลยหรือครับ? อยู่ๆ ก็ ตะติ๊งโหน่ง สร้างขึ้นมาใช้เครือ  
ข่ายกันเองได้เลยหรือครับ?
    ถูกต้อง ถ้าต้องการใช้งานแค่ภายในเครืองข่ายตนเอง
6. ถ้าสมมติมีคอม 20 เครื่อง แล้วแบ่งเป็น 3 Workgroup (ไม่มี Domain) แต่ละ Workgroup จะมองเห็นกันไหมครับ? (ผมลองที่บ้าน 3 เครื่อง ... ตั้งเป็น 2 workgroup ... มันมองไม่เห็นกัน คือ Ping ip กันได้ แต่ว่าใน my network place มองไม่เห็นกันเลย มั่วไงก็ไม่ได้)
    มองเห็นกันครับ ถ้าตั้ง IP อยู่ใน class เดียวกัน และ Subnet เดียวกัน
7. อย่างที่บอกผมมีคอม 3 เครื่อง สมมติให้เป็น A, B, C แล้วกันครับ ... ทำไมบางครั้ง เครื่อง C ก็มองไม่เห็นเครื่อง A และ B ทั้งๆที่ เครื่อง A และ B มองเห็น C รวมถึงลองสั่ง Ping A และ B จากเครื่อง C ก็ยัง Ping ได้ แต่พอเข้าจะเอาไฟล์ที่ Share ไว้ ใน My Network Place (winXP) ของเครื่อง C กลับไม่มีเครื่อง A และ B โชว์ .....
    ถ้าทำตามคำตอบข้อ 6 แล้ว และลองเปิด Share Folder สัก Folder ในเครื่อง A,B,C ควรจะมองเห็นกัน
8. อีกอย่างครับ ทำไมบางครั้งผมเอา NOtebook (winXP) มาต่อเข้าด้วย แล้วก็สั่ง Share File ไว้แล้ว แต่พอเครื่องอื่นๆ จะเข้ามาเอาไฟล์ใน Notebook มันกลับโชว์ให้ใส่ Password (ทั้งๆ ที่ผมไม่ได้ตั้ง) และบางครั้งก็ขึ้นว่า You don't have permission to use this network resources... ประมาณนี้ ผมพยายามไป set permission อะไรก็ไม่ได้สักที ...
    ตรวจสอบ user Guest ให้เปิดใช้งาน หรือ ตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าใช้งาน Folder ที่ทำการเปิด Share ไว

วิธีการ join domain

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

Install Windows 7 in Parallels Desktop 7 (MAC)




How to get Parallels Desktop 7 for Mac

Parallels Desktop คือ
คล้ายๆกับ virtualbox, vmware, pearpc ซึ้งเป็นโปรแกรมจำลอง com รัน os ใดก็ได้ แต่ไม่สามารถใช้ได้ 100% ประมาณนั้นแต่ความพิเศษของ parallel desktop คือ เป็นโปรแกรมจำลอง pc ที่รัน windows ต่างๆใช้ได้ 100%

Download :







วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

วิธีตรวจสอบเพาเวอร์ซัพพลาย

Power Supply ที่อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน จะเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์เสียหายได้ โดยเฉพาะ Harddisk ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบสภาพของ Power Supply อยู่เสมอ จะช่วยรักษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้นานเท่าที่เราต้องการได้ ถ้าพบว่า Power Supply เสียหายควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวใหม่ ก่อนที่จะสายเกินไป
Power Supply มี 2 แบบ
          แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
          แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
                 2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
                 2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case ราคาประมาณ 450-550 บาท(ตกประมาณวัตต์ละ 1 บาท)
                 2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ (ราคาประมาณ 600-800 บาท)
          ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้
การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply
          ดำ + ดำ = 0 V
          ดำ + แดง = 5 V
          ดำ + ขาว = -5 V
          ดำ + น้ำเงิน = -12 V
          ดำ + ส้ม = 5 V
          ดำ + เหลือง = 3.3 V
          ดำ + น้ำตาล = 12
ตรวจสอบก่อนส่งซ่อม
         แต่ก่อนที่จะสรุปว่า เพาเวอร์ซัพพลาย เสีย ควรตรวจสอบด้วยตนเองก่อนที่จะเสียค่าโง่ ดังต่อไปนี้
         สายเพาเวอร์เสียบกับ คอมพิวเตอร์ และเสียบปลั้กไฟแน่นหรือไม่
         ปลั้กไฟมีไฟเข้าหรือไม่
         สวิชต์ของ เพาเวอร์ซัพพลาย ปิดอยู่หรือไม่ ( ดูที่ 0 คือปิด 1 คือเปิด )
         เปิดติดแต่ไม่บูต หมายถึงเปิดแล้ว พัดลมของ เพาเวอร์ซัพพลาย หมุน แต่เครื่องไม่บูต เป็นไปได้ว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่สามารถจ่ายไฟให้คอมพิวเตอร์ หรือจ่ายไฟได้ไม่พอ กรณีนี้ เพาเวอร์ซัพพลาย อาจจะไม่เสีย แต่จ่ายไฟได้ไม่พอกับกำลังที่คอมพิวเตอร์ต้องการ (ควรเปลี่ยน Power Supply ใหม่)
เครื่องดับเองบ่อย ๆ
         ลองเช็คดูว่าพัดลม เพาเวอร์ซัพพลาย ยังหมุนดีอยู่หรือไม่ เพาเวอร์ซัพพลาย อาจจะร้อนเกินไป ให้ดูว่าการเซ็ตค่า BIOS เกี่ยวกับ Power ถูกต้องหรือไม่
         เพาเวอร์ซัพพลาย เสีย เพาเวอร์ซัพพลาย มีเสียงดัง พัดลมอาจกำลังจะเสีย ต้องส่งซ่อม หรือเปลี่ยน เพาเวอร์ซัพพลายใหม่ทั้งลูก
อุปกรณ์บางตัวในคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน
         อุปกรณ์บางตัวไม่ทำงาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม การ์ดจอ ไม่ทำงาน สาเหตุอาจเกิดจาก เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่จ่ายไฟให้อุปกรณ์เหล่านั้นก็ได้ ตรวจสอบให้แน่นอนเสียก่อนก่อน อุปกรณ์อาจไม่เสีย แต่ที่เสียคือ เพาเวอร์ซัพพลายเป็นสาเหตุหลักอันดับแรกที่ควรตรวจสอบ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

Windows Server 2008 Print Server

การติดตั้งวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็นพรินเซิร์ฟเวอร์ (Print Server)นอกจากบริการแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์แล้ว บริการอย่างหนึ่งที่มีการใช้งานกันมากในสำนักงานหรือแม้การใช้งานในบ้านการแชร์ก็ตาม คือการแชร์พริ้นเตอร์ โดย Windos Server 2003 นั้น ก็สามรถทำหน้าที่พริ้นเซิร์ฟเวอร์ (Print Server) เพื่อให้บริการแชร์พรินเตอร์ได้เช่นกัน

สำหรับวิธีการติดตั้งให้โดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ทำหน้าที่เป็นพริ้นเซิร์ฟเวอร์ (Print Server) นั้นทำได้โดยการเพิ่ม Role ให้กับเซิร์ฟเวอร์จากหน้าต่าง Manage Your Server ลักษณะเช่นเดียวกับการติดตั้งเปนไฟล์เซิร์ฟเวอร์ โดยเมื่อเพิ่ม Role เสร็จแล้วจะมีลิงค์ Add a Printer บนหน้าต่าง Manage Your Server เพื่อใช้ในการ Add Printer เพื่อให้บริการแก่ยูสเซอร์

การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 เป็น Print Server
การติดตั้ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 ให้เป็น Print Server นั้น มี 2 ขั้นตอนดังนี้

• การติดตั้งบริการ Print Services
1. เปิด Server Manager โดยการคลิก Start แล้วคลิก Server Manager
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Add Roles ซึ่งจะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Roles Wizard: Before You Begin
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Before You Begin ให้คลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Server Roles ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Print Services แล้วคลิก Next



5. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Print Services ให้คลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Role Services ให้คลิกเลือกเช็คบ็อกซ์ Print Server แล้วคลิก Next



7. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Installation Selections คลิก Install
8. รอจนระบบทำการติดตั้งแล้วเสร็จ จากนั้นในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Installation Results คลิก Close ซึ่งจะกลับไปยังหน้าต่าง Server Manager

• การแชร์พรินเตอร์
1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Print Services
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในแพนดีเทลแพนของ Print Services ให้คลิกที่ลิงค์ Add and share a printer on the networks.
3. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Network Print Installation Wizard:Printer Installation ให้เลือกเป็น Add a TCP/IP or Web Services Printer by IP Address or hostname แล้วคลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Address ให้เลือก Type of Device เป็น TCP/IP Device แล้วใส่ค่าชื่อพรินเตอร์หรือหมายเลขไอพีในช่อง Printer name or IP address เสร็จแล้วคลิก Next



5. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Name and Sharing Settings ให้ใส่ชื่อแชร์ที่ต้องการในช่อง Share Name: สำหรับช่อง Location: และ Comment: นั้นใส่ค่าหรือไม่ก็ได้ เสร็จแล้วคลิก Next



6. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Found ให้ตรวจสอบความถูกต้อง เสร็จแล้วคลิก Next



7. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Completing the Network Printer Installation Wizard ให้คลิก Finish

• การเพิ่มเครื่องพรินเตอร์ (Add Printer) บนเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์
การ Add Printer เพิ่มเติมบนเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์นั้น มีวิธีการดังนี้

1. ในหน้าต่าง Server Manager ในดีเทลแพน ในส่วน Roles Summary ให้คลิกที่ Print Services
2. ในหน้าต่าง Server Manager ในคอลโซลทรีของ Print Services ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Print Services แล้วคลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Print Management แล้วคลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Print Server แล้วคลิกขวาที่ Server (ชื่อพรินเซิร์ฟเวอร์) แล้วเลือก Add Printer...



หรือคลิกขวาที่ Printer แล้วเลือก Add Printer...



3. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Network Print Installation Wizard:Printer Installation ให้เลือกเป็น Add a TCP/IP or Web Services Printer by IP Address or hostname แล้วคลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Address ให้เลือก Type of Device เป็น TCP/IP Device แล้วใส่ค่าชื่อพรินเตอร์หรือหมายเลขไอพีในช่อง Printer name or IP address เสร็จแล้วคลิก Next
5. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Name and Sharing Settings ให้ใส่ชื่อแชร์ที่ต้องการในช่อง Share Name: สำหรับช่อง Location: และ Comment: นั้นใส่ค่าหรือไม่ก็ได้ เสร็จแล้วคลิก Next
6. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Printer Found ให้ตรวจสอบความถูกต้อง เสร็จแล้วคลิก Next
7. ในหน้าไดอะล็อกล็อกซ์ Completing the Network Printer Installation Wizard ให้คลิก Finish

การใช้งานเครื่องพรินเตอร์ที่แชร์โดยเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย
การเข้าใช้งานพรินเตอร์ที่แชร์โดยเครื่องพรินเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย จากเครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายนั้น มีวิธีการดังต่อไปนี้

1. คลิกที่ Start แล้วคลิก Printers and Faxes
2. ที่หน้าต่าง Printers and Faxes ในส่วน Printer Tasks คลิก Add Printer เพื่อเปิดในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Printer Wizard แล้วคลิก Next
3. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Local or Network Printer เลือก network printer or a printer attached to another computer แล้วคลิก Next
4. ในหน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Specify a Printer เลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังนี้
-Browse for a printer
-Connect to this printer แล้วพิมพ์ชื่อ UNC ของ share printer ที่ต้องการในช่อง Name: เสร็จแล้วคลิก Next
- Connect to a printer on the Internet or on your intranet แล้วพิมพ์ชื่อ http://printserver_name/Printers/share_name/.printer ในช่อง URL:
5. เสร็จแล้วคลิก Finish

หลังจากทำเพิ่มพรินเตอร์เสร็จแล้ว ให้ทำการทดลองใช้งานโดยทำการเปิดโปรแกรม Microsoft Word หรือ Notepad แล้วทำการสั่งพิมพ์งาน

หมายเหตุ:
เครื่องไคลเอนต์คอมพิวเตอร์ทดสอบในที่นี้จะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็กพีซ์

เครดิต : http://thaiwinadmin.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

การติดตั้ง และใช้งานโปรแกรม Teamviewer Remote Desktop

เชื่อม ต่อ คอมพิวเตอร์ แบบ รีโมท ด้วย teamviewer  สำหรับโปรแกรมตัวนี้ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไป d/l โปรแกรมได้ที่ เวปไซด์ ขนาดของโปรแกรมไม่ถึง 2 mb.

http://www.teamviewer.com/download/TeamViewer_Setup.exe
เมื่อ Download เสร็จเรียบร้อยให้ทำการติดตั้งดังนี้
การติดตั้ง TeamViewer 6 มีิวิธีการทำดังนี้
1. เรียกโปรแกรม TeamViewer_Setup.exe จะปรากฎหน้าจอดังภาพ
- เลือก Install
หากมี TeamViewer รุ่นเก่าอยู่แล้วก็ให้คลิกเลือก Uninstall old version
- คลิกปุ่ม Next
2. ที่หน้าจอ Environment ให้เลือก
- personal / non-commercial use ตามภาพด้านล่าง
(ที่เลือกรายการนี้เพราะเราต้องการใช้งานฟรี ระวังถ้าเลือกอันอื่นแล้วใช้งานจนหมดอายุของโปรแกรมจะลงใหม่ไม่ได้อีก)
3. ที่หน้าจอ License Agreement
- คลิกเลือก I accept the terms in the License Agreement
- คลิกเลือก I agree that I will only use TeamViewer for non-commercial and private use
จากนั้นคลิกปุ่ม Next
4. ที่หน้าจอ Choose installation type
- เลือก No (default)
จากนั้นคลิกปุ่ม Finish
รอสักครู่โปรแกรมจะทำการติดตั้งจนเสร็จ
จากนั้นโปรแกรมจะทำการเีรียกโปรแกรมจึ้นมาอัตโนมัติ
ถ้าปรากฎหน้าจอ Proxy Settings ดังภาพ
ถ้าเราไม่มี proxy server ก็ให้เลือกรายการ No proxy
โปรแกรมจะเปิดโปรแกรม ซึ่งจะอยู่ที่ Task Bar ให้ดับเบิ้ลคลิก เพื่อเปิดโปรแกรม
ที่หน้าต่างโปรแกรม TeamViewer ให้เลือกเมนู Extras -> Options
ที่หน้าต่าง TeamViewer Option ให้เลือกแทป General แล้วกำหนดค่าดังนี้
- Start TeamViewer with Windows เพื่อเปิด TeamViewer อัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง
- Minimize to tray ment เพื่อซ่อนโปรแกรมไว้ในส่วนของ Task Bar
จากนั้นกำหนด Password และ Confirm Password
แล้วคลิกปุ่ม OK ดังภาพ
ให้คุณจดหมายเลข Your ID ของเครื่องที่เราจะเข้าไปตีท้ายครัว
การกำหนดรหัสผ่านใหม่
ให้เรียกโปรแกรม TeamView ขึ้นมาโดยไปคลิกที่ไอคอน TeamViewer 6 ที่ Desktop ของ Windows ถ้าหาไม่เจอก็ลองไปหาใน Start Menu ของ windows หรือ ที่ Task Bar
ให้คุณคลิกเมาส์ที่ช่อง Password แล้วเลือก Set user defined password  ดังภาพด้านล่าง
จากนั้น เข้าไปกำหนดรหัสผ่านใหม่ ตามภาพด้านล่าง
การใช้งาน
ต้องติดตั้งโปรแกรม TeamViewer ที่คอมพิวเตอร์ทั้งสองฝั่ง เหมือน ๆ กัน
1. สำหรับเครื่องไหนที่เป็นเครื่องที่เราจะเข้าไปตีท้ายครัว (remote)
ก่อนอื่นก็เรียกโปรแกรมที่อีกฝั่งขึ้นมาก่อน แล้วทำการจดหมายเลข ที่ช่อง Your ID ของเครื่องเขาไว้

2. เปิดโปรแกรม TeamViewer ที่อยู่ในเครื่องของเรา (วิธีเปิดเหมือนข้อ 1) จะปรากฎหน้าตาดังภาพ

ที่ช่อง ID สีขาวตามลูกศรชี้ ให้นำหมายเลขที่จดไว้จากเครื่องที่เราจะเข้าไปรีโมทมากรอก เช่น 11 111 111
จากนั้นคลิกที่ Remote Control
แล้วคลิกปุ่ม Connect to Partner
ถ้าหากเห็นหน้าจอดังภาพ หรือคล้าย ๆ กัน ก็คลิก OK

หลังจากนั้นถ้ามิได้มีเหตุผิดปรกติอันใดเกิดขึ้น เราจะได้เห็นหน้าจอให้กำหนดรหัสผ่าน ดังภาพ

ก็ทำการป้อนรหัสผ่านของเครื่องที่เราจะไปตีท้ายครัว (รหัสผ่านที่เรากำหนดตอนติดตั้งโปรแกรม)
แล้วคลิกปุ่ม Log On
แอ่นแอนแอ๊นนนนนนน ท่านก็จะได้เห็นภาพของเครื่องที่ท่านเข้าไปตีท้ายครัวมาปรากฎอยู่ตรงหน้า
ที่เหลือมั่วต่อเอง
เครดิต : http://kasem-mesak.blogspot.com

VNC พร้อมวิธี install & setup

VNC ย่อมาจาก Virtual Network Computing ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Client/Server ที่อนุญาตให้คุณสามารถเข้าถึง
เครือข่ายจากระยะไกลไปยังหน้าจอแบบกราฟิกโหมดของคุณ และด้วยการใช้ VNC นี้ คุณจะสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณจาก ที่ใดก็ได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, โมเด็ม หรือเน็ตเวิร์คภายในองค์กร ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อ

Step 1: ไป download โปรแกรมมาที่ http://www.realvnc.com/products/free/4.1/download.html

Step 2: ติดตั้ง VNC Server application on the target machine
Locate the downloaded executable on your machine and run it.



เลือก Next



Click to accept the agreement (if you don't, the installation will fail) and click Next.



เลือกตำแหน่งที่จะติดตั้งโปรแกรม, แล้ว click Next.



เลือกโปรแกรมติดตั้ง VNC Server. Click Next.



Here you can choose to rename the default folder where the program icons will reside then click Next.



ถ้าต้องการให้รันเป็น server ของ windows ก็กดเลือก แล้ว Click Next.



รีวิวค่าต่างๆ ที่เราเลือก ถ้าถูกต้องแล้ว click Install to begin the process.



Click Next.



ติดตั้ง VNC Server เรียบร้อยแล้ว Click Finish ออกไปเลย




Step 3: กำหนดค่า VNC Server

การเข้าโปรแกรมไปที่  Start --> All Programs --> Real VNC --> VNC Server เลือก "Configure VNC Service" เพื่อกำหนดรหัสผ่าน



ไปที่  Authentication tab, แล้วเลือก the VNC Password Authentication option, and click Configure. ให้ใส่ password เหมือนกัน 2 ครั้งแล้วกด OK





Step 4: Start the VNC Server.
ทำการสร้าง VNC Server Sivice
ไปที่ Real VNC Server folder (Start --> All Programs --> Real VNC --> VNC Server and click on the following: "Register VNC Service" followed by "Start VNC Service." ครั้งต่อไปเมื่อเราเปิดเครื่อง มันก็จะ run อัตโนมัติ


เมื่อตัว server รันแล้ว, เราจะเห็นไอคอน VNC เล็กๆ อยู่ใน system tray.



Step 5: เป็นการกำหนดค่าในการดูผ่านเน็ต
           1. ทำการ forward port ที่ router เช่นมีเครื่องลูกในวงแลนดังนี้
           router ip : 124.124.125.125
           a 192.168.1.100      b 192.168.1.101  c 192.168.1.102  d 192.168.1.103
           เครื่อง a  เปิดพอร์ท 5800 5900  b 5801 5901  c 5802 5902  d 5803  5903
         ถ้าอยากดูเครื่อง a ก็ใส่ค่าแบบนี้ใน viewer  124.124.125.125:5900 มันก็จะิวิ่งไปเครื่อง a
ปัญหาอีกอย่างของ router ซึ่งไม่ได้ ip จริง ซึ่งมันจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังนั้นเราก็ต้องไปใช้บริการพวก DDNS
เช่น No-ip  dyndns etc.

          2. ส่วนการดูผ่านแลนก็ใส่ เบอร์ ip and password ได้เลย



บทความจาก วีซ่าส์
credit : http://www.d-sign8.com/

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การติดตั้ง VPN แบบ PPTP Connection ใน Windows 7

วิธี การที่สะดวกในการเชื่อมต่อ VPN อีกวิธีที่ได้รับความนิยมคือ VPN แบบ PPTP Connection (Point-To-Point Tunneling Protocol) โดยวิธีการดังกล่าวเป็นการเชื่อมต่อ VPN ในระดับ Tunneling คือการสร้าง ‘ท่อ’ ในการรับ-ส่งข้อมูล ระหว่าง VPN Client และ VPN Server หรืออาจจะเรียกได้อีกแบบว่าเป็นการทำ VPN แบบ 1 เฟส (* ชื่อนี้ผมชอบเรียกเอง โดยเปรียบเทียบจากการทำ IPSec VPN ที่ทำ VPN แบบ 2 เฟส) 

การทำ PPTP Connection ใน Windows 7 สามารถใช้งานร่วมกับ PPTP Server ที่รองรับมาตรฐาน PPTP ได้ทุกค่าย ดังนั้นท่านสามารถทำนำเอาวิธีการติดตั้งในบทความนี้ไปประยุกต์ใช้งานได้ตาม อัธยาศัย
    รูปภาพ


ข้อมูลเบื้องต้นก่อนการติดตั้ง
  1. การติดตั้งและเชื่อมต่อ VPN แบบ PPTP Connection ในบทความนี้ ทดสอบจาก Windows XP Service Pack 2
  2. กำหนดให้สร้าง PPTP Account บนเครื่อง PPTP Server ก่อนการติดตั้ง จากตัวอย่าง มีรายละเอียดการเชื่อมต่อดังนี้
    • PPTP Server Address = sys2u-pptp.dyndns.info
    • PPTP Account Username = sys2u
    • PPTP Account Password = sys2u
    * ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามต้องการ


ขั้นตอนที่ 1 สร้างการเชื่อมต่อแบบ VPN PPTP กับ PPTP Server

    Microsoft Windows 7
    • เข้าเมนู ‘All Programs’ -> ‘Control Panel’’ 

      รูปภาพ
    • เข้าเมนู ‘Network and Internet' 

      รูปภาพ
    • เข้าเมนู ‘Network and Sharing Center' 

      รูปภาพ
    • เข้าเมนู ‘Setup new connection or network' 

      รูปภาพ
    • เข้าเมนู ‘Connect to a work place' จากนั้นกดปุ่ม 'Next'

      รูปภาพ
    • เข้าเมนู ‘Use my internet connection (VPN)' 

      รูปภาพ
    • กำหนดที่อยู่ของ VPN Server โดยจะระบุเป็น IP Address ในกรณีที่เชื่อมต่อ Internet แบบ Static หรือจะกำหนดเป็น FQDN ในกรณีที่เชื่อมต่อ Internet แบบ Dynamic DNS โดยตัวอย่างระบุดังนี้

      • Internet Address : 'sys2u-pptp.dyndns.info'
      • Destination Name : 'SYS2U PPTP VPN' (* กำหนดตามความต้องการ)



      รูปภาพ
    • กำหนดชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ระบุอยู่ใน Linksys RV042 โดยตัวอย่างระบุดังนี้
      • User name : 'sys2u'
      • Password : 'sys2u' (* กำหนดตามความต้องการ)


      รูปภาพ
    • กำลังเชื่อมต่อไปยัง Linksys RV042 VPN Server

      รูปภาพ

      รูปภาพ
    • การเชื่อมต่อไปยัง Linksys RV042 VPN Server เรียบร้อยแล้ว !

      รูปภาพ




ขั้นตอนที่ 2 ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อ VPN อีกครั้ง ท่านสามารถไปที่ Taskbar ด้านมุมขวาของหน้าจอ


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ


เท่านี้ละครับ เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วครับ

credit : http://www.sys2u.com/
บทความสำหรับ: ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายในระดับเบื้องต้นถึงปานกลาง (v1.1) 
โดย ศุภสิทธิ์ ศิริพานิชกร